ตัวอย่างรายงานประกอบด้วย

1. รายงานข้อมูลต่างๆที่ได้บันทึกไว้

รายละเอียดสูตรการผลิต สามารถเลือกพิมพ์เฉพาะช่วงหรือทั้งหมดของเลขที่สูตรได้
โดยจะแสดงข้อมูลว่า เลขที่สูตรนั้นประกอบด้วยวัตถุดิบใด ใช้ปริมาณเท่าไร
รายละเอียดขาเข้า เป็นการแสดงข้อมูลด้านการนำเข้าต่างๆ ตามที่ได้บันทึกไว้
เพื่อใช้ตรวจทานการบันทึกถูกต้องหรือไม่
รายละเอียดขาออก เป็นรายการสรุปให้ทราบว่า การตัดบัญชีครั้งนี้จะนำขาออกฉบับใดไปตัดบัญชีได้
ทั้งสามารถสรุปยอดการส่งออก และรายละเอียดต่างๆที่ได้บันทึกไว้

2. การตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกไว้

รายงานข้อมูลผิดพลาดของขาเข้าหรือขาออก โดยโปรแกรมสามารถตรวจสอบข้อมูล ที่บันทึกไว้มีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง เช่น
ก. ความสัมพันธ์ของวันที่ระหว่าง วันเรือ วันทำพิธีการ วันตรวจปล่อยถูกต้องหรือไม่
ข. แจ้งรายการใดในใบขนที่ไม่ได้บันทึกรายละเอียด เข้าระบบข้อมูล
ค. แจ้งข้อมูลที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์
ง. แจ้งไม่มีข้อมูลขาเข้าหรือข้อมูลขาออก

3. การตรวจสอบผลการตัดบัญชี

รายงานข้อผิดพลาดในการตัดบัญชีขาเข้าและขาออก โดยโปรแกรมจะแสดงสิ่งผิดพลาดต่างๆที่ตรวจพบ เช่น
ก. แจ้งไม่มีรหัสวัตถุดิบนี้ในระบบ
ข. แจ้งไม่มีเลขที่สูตรนี้ในระบบ
ค. แจ้งรายละเอียดในสูตรการผลิตไม่มี
ง. แจ้งปริมาณขอคืนในสูตรมีค่าเป็น 0
จ. แจ้งวัตถุดิบไม่มีการเคลื่อนไหว
ฉ. แจ้งวัตถุดิบที่มีในสูตร แต่ไม่มีการนำเข้า

4. สรุปข้อมูลอื่นๆให้ทราบเช่น

มีรายการไหนส่งออกเกินบ้าง (Short)
มีรายการใดที่หลังการตัดบัญชีแล้วยังเหลือวัตถุดิบอยู่บ้าง (C/F)
สรุปรายงานยอดนำเข้ารวม ส่งออกรวม ยอดคงเหลือ ของวัตถุดิบนั้นๆ

5. รายงานทั้ง 5 ตามรูปแบบและกฎเกณฑ์ของกรมศุลกากร

1. DUTY REFUND ON EXPORTATION
2. RAW MATERIAL IMPORTED AND USE
3. DUTY DRAW BACK CLASSIFIED BY EXPORT ENTRY
4. DUTY DRAW BACK CLASSIFIED BY IMPORT ENTRY
5. RAW MATERIAL REFUND
6. รายงานสรุปยอดส่งออกของแต่ละบริษัท เป็นรายงานพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับฝ่ายบัญชี

6. การพิมพ์เอกสารประกอบเพื่อขอคืนภาษี

ใบขอคืนค่าภาษีอากร ตามมาตรา 19 ทวิ (กศก.111)
ใบบัญชีรายละเอียดแนบใบขอคืนอากร